กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ                                       กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ                                         กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ

โครงการแก้ไขปัญหาช้างป่าตามแนวพระราชดำริ รัชกาลที่ ๙

Release Date : 10-06-2021 00:00:00
โครงการแก้ไขปัญหาช้างป่าตามแนวพระราชดำริ รัชกาลที่ ๙

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดําริ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๒ ความโดยสรุปว่า

“...ช้างป่าควรอยู่ในป่า เพียงแต่ต้องทำให้ป่านั้น มีอาหารช้างให้เพียงพอ การปฏิบัติคือ ให้ไปสร้างอาหารในป่าเป็นแปลง เล็ก ๆ และกระจาย...

 

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดําริเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๖ ความโดยสรุปว่า

“...ให้พิจารณาก่อสร้าง ฝายต้นน้ำลำธาร (Check Dam) หรือสระน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ป่ากุยบุรีเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ เพื่อชะลอน้ำและสร้างความชุ่มชื้นให้พื้นที่ป่า และเป็นแหล่งน้ำแหล่งอาหารของช้างป่า...”

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรอ่างเก็บน้ำยางชุมอันเนื่องมาจากพระราชดําริ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ได้พระราชทานพระราชดําริกับ นายสามารถ โชคคณาพิทักษ์ อธิบดีกรมชลประทาน (ตำแหน่งในขณะนั้น) และนายสมพล พันธุ์มณีเลขาธิการ กปร. (ตำแหน่งในขณะนั้น) ความโดยสรุปว่า

“…ฝายชะลอความชุ่มชื้น (ฝายต้นน้ำลำธาร) เหนืออ่างเก็บน้ำยางชุมทำดีแล้ว ควรขยายการดําเนินงานต่อไป...”

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระราชเสาวนีย์เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๕ กับ พลเอก นพดล วรรธโนทัย ณ พระตําหนัก จิตรลดาความโดยสรุปว่า

“...ช้างเป็นสัตว์ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงรัก ทรงห่วงใย โดยเฉพาะช้างทางกุยบุรีและแก่งกระจาน ทรงห่วงใย มาตลอด ทรงช่วยหาที่อยู่ที่กินให้ช้างจะได้ไม่รบกวนคน คนกับช้างจะได้มีปัญหากันน้อยที่สุด เช่น ที่กุยบุรีประจวบคีรีขันธ์ช้างมีความสำคัญมาแต่ครั้งประวัติศาสตร์ เคยช่วยรักษาบ้านเมือง กู้บ้านกู้เมือง ดังนั้น ขอให้ช่วยกันดูแล มิให้ช้างถูกฆ่าอย่างทารุณเยี่ยงนี้เพื่อจะได้ไม่ผิด พระราชประสงค์ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงตั้งพระราชหฤทัย ที่จะให้มีการอนุรักษ์ช้างให้เป็นสัตว์คู่แผ่นดินสืบไป...”

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระราชเสาวนีย์ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ กับท่านผู้หญิงฉัตรแก้ว นันทาภิวัฒน์ ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ทีขะระ และพลเอก นพดล วรรธโนทัย ณ พระตําหนักจิตรลดา ความโดย สรุปว่า

“...ขอให้ร่วมมือกับแม่ทัพภาคที่ ๑ และ ดร.ธวัชชัย สันติสุข ดำเนินการเรื่องการปลูกพืช อาหารช้าง การปลูกต้นไม้ให้เป็นป่า มีที่อยู่ที่กินของช้างที่แก่งกระจาน เช่นเดียวกับที่กุยบุรี...”

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนเรศวรป่าละอู ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๔ ในการนี้นายชํานาญ มีชัยกํานัน ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานความช่วยเหลือ กรณีขาดแคลนน้ำอุปโภค - บริโภค และทำการเกษตร เนื่องจากฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล และกรณีช้างป่าบุกรุกพื้นที่การเกษตร ของราษฎร และได้มีพระราชดําริให้สำนักงาน กปร. กรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพิจารณาให้ความช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ดังกล่าวต่อไป

ผลการดําเนินงาน

ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ สำนักงาน กปร. ได้สนับสนุนงบประมาณให้แก่กรมอุทยาน แห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อแก้ไขปัญหาช้างป่าให้แก่โครงการต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเพชรบุรีดังนี้

๑. โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรีอันเนื่อง มาจากพระราชดําริจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่บ้านรวมไทย หมู่ที่ ๗ บ้านพุบอน หมู่ที่ ๘ และบ้านย่านซื่อ หมู่ที่ ๙ ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรีจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการจัดหาและรวบรวม พืชอาหารช้าง (พันธุ์ไผ่ท้องถิ่น) จำนวน ๓๐,๐๐๐ กล้า ปรับปรุงแหล่งน้ำสำหรับสัตว์ป่า ขนาด ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร จำนวน ๓ แห่ง ปรับปรุงแหล่งอาหารสัตว์ป่า (โป่งเทียม) จำนวน ๒๐ แห่ง และชุดรั้วรังผึ้งสาธิตเพื่อการเรียนรู้พร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง จำนวน ๓ ชุด

 

 

๒. โครงการแก้ไขปัญหาช้างป่าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อันเนื่องมาจากพระราชดําริ จังหวัดเพชรบุรี ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการจัดหาและรวบรวมพืชอาหารช้าง (พันธุ์ไผ่ท้องถิ่น) จำนวน ๒๐,๐๐๐ กล้า ปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติสำหรับช้างป่าและสัตว์ป่า ขนาด ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร จำนวน ๓ แห่ง จัดทำทุ่งหญ้าแหล่งอาหารช้างป่าและสัตว์ป่า จำนวน ๑๕๐ ไร่ จัดทำโป่งเทียม จำนวน ๒๐ แห่ง และบำรุงรักษาแปลงหญ้าเดิมเพื่อเป็นแหล่งอาหารให้ช้างป่าและสัตว์ป่า จำนวน ๑๕๐ ไร่

 

๓. โครงการแก้ไขปัญหาช้างป่าตามแนวพระราชดําริบ้านป่าเด็ง จังหวัดเพชรบุรี ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่บ้านร่วมใจพัฒนา หมู่ที่ ๒ บ้านป่าแดง หมู่ที่ ๓ บ้านสวนใหญ่พัฒนา หมู่ที่ ๕ บ้านป่าเด็งใต้ หมู่ที่ ๖ บ้านห้วยสัตว์ใหญ่ หมู่ที่ ๗ บ้านเขาแหลม หมู่ที่ ๘ และ บ้านปางไม้หมู่ที่ ๙ ตำบลป่าเด็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และบริเวณพื้นที่ป่าสงวน แห่งชาติป่ายางน้ำกลัดเหนือ – ยางน้ำกลัดใต้ ดำเนินการจัดทำแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร   ให้ช้างป่า และสัตว์ป่า จัดหาและรวบรวมพืชอาหารช้าง (พันธุ์ไผ่ท้องถิ่น) จำนวน ๓๐,๐๐๐ กล้า ปรับปรุง แหล่งน้ำสำหรับสัตว์ป่า ขนาด ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร จำนวน ๒ แห่ง ปรับปรุงทุ่งหญ้าสำหรับเป็นแหล่งอาหารสัตว์ป่า จำนวน ๒๐๐ ไร่ และจัดทำโป่งเทียม จำนวน ๒๐ แห่ง

 

๔. โครงการแก้ไขปัญหาช้างป่าตามแนวพระราชดําริห้วยสัตว์ใหญ่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่บ้านเฉลิมเกียรติพัฒนา หมู่ที่ ๑ บ้านห้วยผึ้ง หมู่ที่ ๔ บ้านเฉลิมพร หมู่ที่ ๕ บ้านโป่งสำโหรง หมู่ที่ ๙ บ้านหนองสะแก หมู่ที่ ๑๐ และบ้านปากคลอง หมู่ที่ ๑๑ ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และบริเวณเขตพื้นที่ปลอดภัย ในราชการทหารดำเนินการจัดหาและรวบรวมพืชอาหารช้าง (พันธุ์ไผ่ท้องถิ่น) จำนวน ๓๐,๐๐๐ กล้า ปรับปรุงแหล่งน้ำสำหรับสัตว์ป่า ขนาด ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร จำนวน ๔ แห่ง ปรับปรุงทุ่งหญ้าสำหรับเป็นแหล่งอาหารสัตว์ป่า จำนวน ๒๐๐ ไร่จัดทำโป่งเทียม จำนวน ๒๐ แห่ง

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

๑. เป็นการเพิ่มแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร และที่อยู่อาศัยของช้างป่า รวมทั้งสัตว์ป่าอื่น ๆ

๒. ช่วยลดปัญหาช้างป่าออกจากป่ามากินพืชผลการเกษตรของราษฎร ลดการกระทบกระทั่งระหว่างคนกับช้างป่า

๓. ราษฎรได้มีส่วนร่วมในการดําเนินงาน เกิดจิตสํานึกในการอนุรักษ์ช้างป่าและ สัตว์ป่า ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ

 

 

แหล่งที่มา  http://www.rdpb.go.th/th/Projects/แนะนำโครงการ-c28/โครงการแก้ไขปัญหาช้างป่าตามแนว

              พระราชดำริบ้านป่าเด็ง.-v10991