กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ                                       กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ                                         กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ

โครงการพระราชดำริ รัชกาลที่ ๙ “พัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง”

Release Date : 08-03-2021 00:00:00
โครงการพระราชดำริ รัชกาลที่ ๙ “พัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง”

ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ ตั้งอยู่ในบ้านบางปี้ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนา พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อช่วยเหลือบรรเทา ความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง และพื้นที่ใกล้เคียง ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเค็ม และปัญหา ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิต ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างครบวงจร และด้วยทัศนียภาพโดยรอบที่งดงาม เพราะตั้งอยู่ท่ามกลางแม่น้ำปากพนัง  มีสะพานข้ามฝั่งแม่น้ำเพื่อให้คนในพื้นที่ได้สัญจรข้ามไปมา ยังอีกฝั่ง และได้จัดทำเป็นสวนสาธารณะที่ร่มรื่นเหมาะสำหรับมาพักผ่อนชมวิว หากมองไปยังริมแม่น้ำสามารถมองเห็นสัญลักษณ์ ปล่องไฟสูงของโรงสีข้าวเก่าแก่สมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ทางอำเภอปากพนังอนุรักษ์ไว้ ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ จึงกลายเป็น สถานที่ท่องเที่ยวไฮไลท์ ที่น่าสนใจอีกแห่ง หนึ่งของอำเภอปากพนัง

 

 

"อุทกวิภาชประสิทธิ" เป็นนามพระราชทานที่เป็นมงคลยิ่ง มีความหมายถึง ความสามารถ แบ่งแยกน้ำจืด น้ำเค็ม ได้สำเร็จ นั่นคือ มีการบริหาร จัดการ อย่างสมดุล ปิดกั้นน้ำเค็มไม่ให้รุกเข้าไปในลำน้ำ กักเก็บน้ำจืดไว้ใช้ดำรงชีพซึ่งจะเป็นบท เริ่มต้นในการพัฒนา คุณภาพชีวิตของผู้คน และเอื้ออำนวยให้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ในลุ่มน้ำปากพนัง เป็นไปอย่างยั่งยืน ซึ่งประตูระบายน้ำอันเป็น ปฐมบทของโครงการการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เริ่ม ทำหน้าที่ไปแล้วตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ มีความสามารถเก็บกักน้ำจืด เหนือประตระบายน้ำได้ ๗๒ ล้านลูกบาศก์เมตร มี ๑๐ ช่องบานระบายและมีประสิทธิภาพในการระบายน้ำ ในอัตรา ๑,๒๔๖ ลูกบาศก์เมตร/วินาที โดยมีการบริหารจัดการอย่างผสมผสานทั้งหลักวิชาการและเทคโนโลยี การจัดการน้ำของ กรมชลประทาน ผนวกกับการมีส่วนร่วมขององค์กรท้องถิ่นในรูปของคณะกรรมการ เปิด-ปิดประตูระบายน้ำเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่คน และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอย่างสมบูรณ์

 

 

ประวัติความเป็นมาของโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลาในอดีตพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แห่งนี้เคยเป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเพาะปลูกมีการทำนามากที่สุด โดยอาศัยน้ำจากแม่น้ำปากพนัง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของลุ่มน้ำ ปากพนัง จึงเป็นแหล่งปลูกข้าวชั้นดีของภาคใต้ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญรุ่งเรืองทุกๆ ด้าน จนเป็นที่รู้จักของผู้คนอย่าง กว้างขวางในนาม “เมืองแห่งอู่ข้าว อู่น้ำ”  ปัจจุบัน “ลุ่มน้ำปากพนัง” ที่อดีตเคยอุดมสมบูรณ์ กลับมีปัญหาหลายประการเกิดขึ้นด้วย สาเหตุจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป คือ จากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นด้วย แต่ป่าไม้ซึ่งเป็นต้นน้ำลำธาร กลับลดจำนวนลงอย่าง รวดเร็ว ทำให้ปริมาณน้ำจืดที่ป่าเคยดูดซับไว้ ไหลลงในแม่น้ำปากพนังและลำน้ำสาขาในช่วงฤดูแล้งลดลงด้วย ปริมาณน้ำจืดที่เคยมี ใช้ปีละ ๘–๙ เดือน ลดลงเหลือปีละ ๓ เดือน เท่านั้น เนื่องจากลักษณะของแม่น้ำปากพนัง มีระดับท้องน้ำอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และมี ความลาดชัน น้อย เมื่อน้ำจืดทางด้านต้นน้ำมีปริมาณน้อย ทำให้น้ำเค็มสามารถรุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำปากพนังและลำน้ำสาขาเป็นระยะ ทางเกือบ ๑๐๐ กิโลเมตร นอกจากนี้ ตอนใต้ของลุ่มน้ำปากพนัง ยังมี “พรุควนเคร็ง” ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มขนาดใหญ่ ประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ ไร่ มีน้ำท่วมขังตลอดปี มีสารไพไรท์อยู่ในชั้นดินทำให้ดินมีสภาพเป็นกรด และปัญหาน้ำเปรี้ยว ราษฎรไม่สามารถใช้ประโยชน์เพื่อ การเกษตรได้ รวมทั้งน้ำเน่าเสียจากการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ได้ไหลลงในลำน้ำต่าง ๆ จนไม่สามารถนำน้ำไปใช้ในการเพาะปลูกได้ กลายเป็นปัญหาที่ขัดแย้งระหว่างชาวนาข้าวและชาวนากุ้งอีกด้วย

อุทกภัยเป็นปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งของลุ่มน้ำปากพนังที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน เนื่องจากมีปริมาณฝนตกมาก ๆ แต่พื้นที่ลุ่มน้ำเป็น พื้นที่ลุ่มราบเรียบ มีความลาดชันน้อย ประกอบกับภาวะอุทกภัยมักจะเกิดในช่วงน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำออกสู่ทะเล ได้เกิดภาวะน้ำท่วมทำความเสีย หายให้แก่พื้นที่เพาะปลูก และพื้นที่ชุมชนเมืองเป็นบริเวณกว้างขวาง ดังนั้นโครงการพัฒนาพื้นที่ ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จะเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยพลิกฟื้นความอุดมสมบูรณ์ ให้กลับคืนสู่พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชดำริในการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่

ลุ่มน้ำปากพนัง แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาดำเนินการนั้น โดยหนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาคือ ให้เร่งดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำปากพนัง เพราะเป็นจุดเริ่มต้น และเป็นงานหลักในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำจืด กรมชลประทานได้ดำเนินการตามแนวพระราชดำริ โดยก่อสร้างประตูระบายน้ำ “อุทกวิภาชประสิทธิ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ และเมื่อเสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ.๒๕๔๒ จากนั้นก็ได้มีการก่อสร้างอาคาร ชลประทานอีกหลายแห่งได้แก่ คลองระบายน้ำฉุกเฉินโดยเป็นแห่งที่ ๒  ประตูระบายน้ำท่าพญา ประตูระบายน้ำคลองหน้าโกฏิ ประตูระบายน้ำคลองปากพนัง (เสือหึง) ประตูระบายน้ำชะอวด-แพรกเมือง ประตูระบายน้ำคลองลัด นอกจากนี้ยังมีการก่อสร้างคัน แบ่งเขตน้ำจืดและน้ำเค็ม ตามแนวคันแบ่งเขตห่างจากชายทะเลอีกด้วย

 
 

 

แหล่งที่มา https://www.paiduaykan.com/province/south/nakhonsithammarat/pakpanangproject.htmlแหล่งที่มา https://www.paiduaykan.com/province/south/nakhonsithammarat/pakpanangproject.html