กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ                                       กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ                                         กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “โครงการโรงเรียนกาสรกสิวิทย์” จังหวัดสระแก้ว

Release Date : 08-02-2021 00:00:00
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  “โครงการโรงเรียนกาสรกสิวิทย์” จังหวัดสระแก้ว

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานวโรกาสให้ นายสมจิตต์ และ   นางมณี อิ่มเอย น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินตำบลศาลาลำดวน อำเมืองเมือง จังหวัดสระแก้ว จำนวน ๑๑๐-๓-๘๑ ไร่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ เพื่อให้เป็นสถานที่ฝึกกระบือให้สามารถทำการเกษตร และเป็นแหล่งที่ให้ผู้ที่สนใจได้เรียนรู้วัฒนธรรมการเกษตรท้องถิ่น และภูมิปัญญาชาวบ้าน รวมทั้งให้เกษตรกรได้เรียนรู้การใช้ชีวิตแบบพอเพียง

 

วันอังคารที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๒ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรความก้าวหน้าการดำเนินงานโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ ในครั้งนั้นได้พระราชทานหญ้าสดแก่กระบือทรงเลี้ยง ทอดพระเนตรบ้านพักปราชญ์ท้องถิ่นและการก่อสร้างบ้านดินในขึ้นตอนต่างๆ ทรงฟังบรรยายแนวทางและแผนการดำเนินงานด้านต่างๆ ของโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ อาทิเช่น การฝึกกระบือผู้เรียนรู้ การอบรมเกษตรกร การทำแปลงฝึกการไถนา การปลูกข้าว ทรงเยี่ยมราษฎร และได้มีรับสั่งให้มูลนิธิชัยพัฒนาสร้างห้องปฏิบัติการทางวิทยายาศาสตร์ขึ้น เพื่อทำการวิจัยในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบือ และอาหารของกระบือ

 

พื้นบ้านที่เรียบง่าย และการใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนารวบรวมกระแสรับสั่งทั้งหมดมาดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนกาสรกสิวิทย์เสร็จเรียบร้อย และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ เมื่อวันอังคารที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๒ ในการเสด็จครั้งนี้ได้ทอดพระเนตรการฝึกกระบือไถนา คราด และตีลูกทุบ ซึ่งเป็นการเตรียมดินสำหรับปลูกข้าว ทรงฟังบรรยายเรื่องหลักสูตรการฝึกกระบือและการดูแลกระบือ ทอดพระเนตรห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ นิทรรศการแสดงเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตรแบบดั้งเดิม และทรงปล่อยปลาไทยลงในสระมะรุมล้อมรัก

วัตถุประสงค์

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดตั้งโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ขึ้น เพื่อเป็นโรงเรียนสำหรับฝึกกระบือให้สามารถไถนาและทำงานด้านการเกษตรกรรม และสอนผู้ที่ต้องการใช้กระบือทำการเกษตรให้สามารถทำงานร่วมกับกระบือได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูแลกระบือให้มีสุขภาพแข็งแรง นอกจากนี้จะเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องวิถีชีวิต ความเป็นอยู่แบบ

 

สัญญลักษณ์โรงเรียน

                สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าอาทิตยาทรกิตติคุณ ทรงออกแบบตราสัญญลักษณ์ของโรงเรียนกาสรกสิวิทย์

กิจกรรมที่ได้ดำเนินการในโรงเรียนกาสรกสิวิทย์

. การอบรมเกษตรกรและการฝึกกระบือผู้เรียนรู้

                โรงเรียนการสนกสิวิทย์มีปราชญ์ท้องถิ่น ๖ คน เป็นหลักในการถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์การทำการเกษตร ให้เกษตรกร เยาวชน และประชาชนที่สนใจการใช้กระบือทำการเกษตร หลักสูตรการฝึกกระบือจากธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริใช้เวลาทั้งสิ้น ๑๕ วัน และหลักสูตรการฝึกอบรมนักเรียนระดับประถมศึกษา ๓ วัน

                หลักสูตรการฝึกกระบือของโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ จะฝึกกระบือให้เชื่องและสามารถไถนาได้อย่างชำนาญ และฝึกเกษตรกรให้คุ้นเคยกับการใช้ชีวิตร่วมกับกระบือ สามารถใช้อุปกรณ์ไถนาได้อย่างถูกต้อง ควบคุมกระบือให้อยู่ในคำสั่ง สามารถเลี้ยงและดูแลกระบือ มีความรู้ในการจัดการเรื่องหญ้าและอาหารเสริม นอกจากนี้  จะเสริมความรู้ด้านการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ผสมผสาน และการใช้ชีวิตแบบพอเพียง 

. นิทรรศการ 

                เป็นนิทรรศการแสดงเครื่องมือการทำนา มีโรงเรือนแสดงเครื่องมือและอุปกรณ์ ในการทำนาที่ใช้มากันตั้งแต่ดั้งเดิม ซึ่งทำขึ้นตามภูมิปัญญาชาวบ้าน อุปกรณ์ทุกชิ้นที่แสดงจะนำไปใช้ในการทำการเกษตรในพื้นที่โรงเรียน หลักจากนำไปใช้แล้ว จะทำความสะอาดเก็บเข้าที่เดิม เพื่อจัดแสดงต่อไป นับเป็นนิทรรศการที่มีชีวิต คือ จะมีการเคลื่อนไหวและนำไปใช้จริง โดยสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปตลอดเวลา 

. การวิจัย 

                เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๒ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมรารี ได้มีรับสั่งให้มูลนิธิชัยพัฒนาสร้างห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ขึ้นในโรงเรียนกาสรกสิวิทย์เพื่อทำการวิจัยในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบือ และอาหารของกระบือ ในเรื่องการวิจัยนี้ โรงเรียนกาสรกสิวิทย์จะได้ประสานกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เพื่อร่วมดำเนินการต่อไป 

. แปลงนา 

                โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ มีแปลงนาจำนวน ๘ แปลง เป็นแปลงนาดำ ๔ แปลง  นาหว่าน ๔ แปลง ปลูกข้าวในระยะเวลาห่างกัน ๑ เดือน เพื่อให้ได้เห็นข้าวในระยะต่าง ๆ ในช่วงระยะแรกนี้ จะปลูกข้าวสลับกับพืชหลังนา และพืชบำรุงดิน เพื่อให้ดินในแปลงนามีความอุดมสมบูรณ์ เป็นการหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมี 

. สระมะรุมล้อมรัก 

                มูลนิธิชัยพัฒนาได้ขุดสระน้ำมีพื้นที่ประมาณ ๑๒ ไร่ ในบริเวณด้านหน้าของ โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๒ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงปล่อยปลาไทย ๙ ชนิด จำนวน ๙๐๕ ตัว ลงในสระมะรุมล้อมรัก บริเวณโดยรอบสระได้ทำดินเป็นขั้นบันได ปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันดินพังทลาย และได้ปลูกต้นไม้หลายชนิด โดยเฉพาะต้นมะรุมและต้นรัก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “สระมะรุมล้อมรัก” 

. ต้นไม้ที่ปลูกเพิ่มเติม 

                ต้นไม้ที่ปลูกใหม่ในโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ จะเป็นต้นไม้ที่รับประทานได้ทั้งสิ้น ณ  วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๒ ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงเรียนนั้น โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ได้ปลูกต้นไม้เพิ่มเติมไปแล้วทั้งสิ้น ๕๐ ชนิด จำนวน ๘,๒๔๙ ต้น รวมทั้งต้นกระเบาจากวังสระปุทม ที่ได้ทรงปลูกเป็นสิริมงคลที่บริเวณหน้าสำนักงานของโรงเรียนด้วย ไม้ที่ปลูกมีทั้งไม้ผล สมุนไพร และต้นไม้ที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น กระเบา มะรุม แค ขี้เหล็ก ชะอม ยอ มะดัน มะม่วง มะยม ชมพู่ ขนุน มะยงชิด มะปราง หว้า กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม อ้อย มะกอก กระวาน อบเชย ข่า ตะไคร้ ไผ่ เป็นต้น 

. บ้านดิน 

                เป็นที่พักของผุ้เข้ารับการฝึกอบรม และวิทยากร และเป็นต้นแบบของที่อยู่อาศัย จริง เพื่อหาขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนและสภาพของการพักอาศัย เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยต้นแบบของโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ ซึ่งเป็นแบบที่ผู้เข้ารับการฝึกสามารถกลับไปปลูกสร้างเองได้โดยใช้วัสดุภายในท้องถิ่นนั้น ๆ

 

 

เป้าหมายของโครงการในปี ๒๕๕๒

                ๑. ฝึกกระบือผู้เรียนรู้จากธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริให้ไถนาและทำการเกษตรจำนวน ๕ ตัวต่อรุ่น ฝึกกระบือ ๑๐ รุ่น รวม ๕๐ ตัว

                ๒. อบรมเกษตรกรให้เรียนรู้การใช้กระบือในการเกษตรและสามารถนำกระบือผู้เรียนรู้ไปเลี้ยงและใช้กระบือทำการเกษตรได้ดี เป็นจำนวน ๕ คนต่อรุ่น ทั้งหมด ๑๐ รุ่น รวมเกษตรกรปีละ ๕๐ คน 

                ๓. ฝึกอบรมนักเรียนระดับประถมศึกษา ให้รู้จักการใช้ประโยชน์หรือรู้จักวิธีการใช้กระบือในงานเกตรกรรม และได้รับความรู้ในเรื่องราวการใช้ชีวิตแบบพอเพียง จำนวน ๑๐๐ คน

เป้าหมายในปี ๒๕๕๕ ของโรงเรียนกาสรกสิวิทย์

                ๑. ฝึกกระบือผู้เรียนรู้จากธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ ให้มีความสามารถในการไถนา ไม่น้อยกว่าปีละ ๒๐๐ ตัว

                ๒. ฝึกเกษตรกรผู้เรียนรู้ จะได้รับกระบือจากธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริให้มีความชำนาญในการควบคุมกระบือทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่น้อยกว่าปีละ ๒๐๐ คน 

                ๓. ฝึกอบรมนักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ให้รู้จัดการใช้ประโยชน์หรือรู้จักการใช้กระบือในการทำการเกษตร และได้รับความรู้ในเรื่องราวใช้ชีวิตแบบพอเพียงไม่น้อยกว่าปีละ ๓๒๐ คน 

                ๔. เป็นศูนย์กลางการใช้ประโยชน์จากกระบือในด้านเกษตรกรรมระดับพื้นบ้านของประเทศไทย

 

 

แหล่งที่มา http://www.sakaeo.go.th/royalproject/kasorn.html