กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ                                       กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ                                         กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ

โครงการหลวง รัชกาลที่ ๙ “สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง”

Release Date : 14-01-2021 00:00:00
โครงการหลวง รัชกาลที่ ๙ “สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง”

ตลอดระยะเวลา ๗๐ ปี ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ขึ้นครองราชย์ ท่านทรงงานโดยมิได้ว่างเว้น เสด็จเยี่ยมเยียนประชาชนทั่วทุกภาคในประเทศ แม้จะเป็นที่ห่างไกลหรือทุรกันดารเพียงใด ท่านก็ไม่ทรงย่อท้อ พัฒนาพื้นที่จากที่ดินแห้งแล้งให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ช่วยเหลือประชาชนที่ตกทุกข์ได้ยาก เสมอมา

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ที่จังหวัดเชียงใหม่ แห่งนี้ เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง ที่ท่านได้สอนให้ชาวดอย ปลูกผัก พืชเมืองหนาว ผลไม้ และดอกไม้ แทนการปลูกฝิ่น และในปัจจุบัน ก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาข้อมูลที่นิยมมาก ๆ แห่งหนึ่งของคนไทย

                                   รัชกาลที่ ๙ เสด็จประพาส โครงการหลวงแห่งแรก “ดอยอ่างขาง”

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริในพระสมเด็จ  พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ว่า “ให้ช่วยเขา ช่วยตัวเอง” มีพระราชประสงค์ให้ชาวไทยภูเขา ที่พักอาศัยอยู่ตามดอยต่าง ๆ ทางภาคเหนือเลิกปลูกฝิ่น และทำไร่เลื่อนลอย อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ป่าไม้ และต้นน้ำลำธารของประเทศถูกทำลาย

                         พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเสด็จฯ โดย เฮลิคอปเตอร์

“ผมขึ้นมาครั้งแรกเดือนเมษายนปี ๒๕๑๗ พื้นที่แถบนี้เป็นภูเขาหัวโล้นทั้งหมด ชาวบ้านแผ้วถางป่า ทำไร่ แล้วก็เผา” จำรัส อินทร เจ้าหน้าที่รุ่นแรกของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เท้าความหลังถึงสถานีเกษตรหลวงแห่งแรกในความทรงจำ “พวกเขาเผาทำไร่ฝิ่นครับ” ซึ่งในยุคนั้น ฝิ่นและข้าวไร่ถือเป็นพืชพื้นฐานสองชนิด ที่ชาวเขานิยมปลูกบนพื้นที่สูงของไทย ข้าวไร่นั้นปลูกสำหรับบริโภคในครัวเรือน ส่วนฝิ่นนอกจากใช้แทนยาบรรเทาความเจ็บป่วยสารพัดแล้ว ยังเป็นแหล่งรายได้สำคัญอีกด้วย

พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช จึงทรงมีพระราชดำริว่า พื้นที่นี้มีภูมิอากาศหนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลยและสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับพระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาวขอมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๑,๕๐๐ บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่จากชาวเขาในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่งทำหารทดลองปลูก จากเดิมที่เป็นดอยหัวโล้นแปรสภาพเป็นขุนเขาแห่งความอุดมสมบูรณ์ ด้วยการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ไม้ผล กว่า ๑๒ ชนิด ผักเมืองหนาวกว่า ๖๐ ชนิด และดอกไม้เมืองหนาวกว่า ๒๐ ชนิด เป็นถิ่นที่อยู่ของ ชาวไทยภูเขาเผ่าจีนยูนาน ไทใหญ่ มูเซอดำ และปะหล่อง พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รับสั่งว่า “ไม่ใช่ทองคำหรอก แต่เป็นสามเหลี่ยมยากจน คนปลูกฝิ่นไม่ได้เงินเท่าไหร่ คนเอาฝิ่นไปขายต่างหากถึงรวย” หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ทรงเล่าถึงที่มา  ของโครงการหลวง

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีพระราชดำริให้จัดตั้ง “โครงการพระบรม   ราชานุเคราะห์ชาวเขา” เป็นโครงการส่วนพระองค์ ขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานีวิจัยและทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิด  ต่าง ๆ ทดแทนฝิ่น เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขาในการนำพืชเหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งนำไปสู่การแก้ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำอย่างเป็นระบบ

               ภายหลังโครงการนี้ได้พัฒนาต่อมาจนกลายเป็น “โครงการหลวง” ซึ่งเป็นรู้จักอย่างกว้างขวางใน ทุกวันนี้ และทรงได้พระราชทานนามว่า “สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง” หลายชั่วอายุคนมาแล้ว ชาวเขาเดินเท้าเปล่าหรือไม่ ก็ลากรองเท้าแตะขึ้นดอยจนกลายเป็นความเคยชิน รองเท้า บูตยางจึงเป็น “ของแปลกใหม่” ที่พวกเขา  ต้องใช้เวลาทำความรู้จักและรับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ฉันใดก็ฉันนั้น การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตดั้งเดิมที่สืบทอดกันมายาวนานอย่างการปลูกฝิ่นจึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยทั้งเวลา ความเข้าใจ และความอดทน นับแต่วันแรกที่มีการทดลองปลูกพืชทดแทนฝิ่น องค์ความรู้ที่สั่งสมจากการลองผิดลองถูกและการแก้ปัญหาสารพัดบนพื้นที่สูงตลอดกว่าสี่ทศวรรษที่ผ่านมา ไม่เพียงเป็นแบบอย่างให้กับพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศ หากยังข้ามน้ำข้ามทะเลไปถึงต่างประเทศด้วย “เดิมอัฟกานิสถานเป็นแหล่งปลูกผลไม้ส่งยุโรป แอปริคอต เขาอร่อยมาก ทุกวันนี้มูลนิธิโครงการหลวงมีสถานีเกษตรและศูนย์พัฒนาโครงการหลวงนับสิบแห่งกระจายอยู่ทั่วภาคเหนือ

โครงการหลวงแห่งแรก “ดอยอ่างขาง” อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑,๔๐๐ เมตร มีพื้นที่ที่ใช้ทำการเกษตรในงานวิจัยประมาณ ๑,๙๘๙ ไร่ มีหมู่บ้านชาวเขาที่ทางสถานีฯ ให้การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ รวม ๙ หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหลวง บ้านคุ้ม บ้านนอแล บ้านปางม้า บ้านป่าคา บ้านขอบด้ง บ้านผาแดง บ้านสินชัย และบ้านถ้ำง๊อบ ซึ่งประกอบไปด้วยประชากร จำนวน ๔ เผ่า อันได้แก่ ไทยใหญ่ มูเซอดำ ปะหล่อง และ จีนยูนนาน