กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ                                       กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ                                         กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ

บทความ โครงการพระราชดำริ รัชกาลที่ ๙ “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก”

Release Date : 16-05-2024 00:00:00
บทความ โครงการพระราชดำริ รัชกาลที่ ๙  “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก”

ประวัติความเป็นมา

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับก่อสร้างศูนย์ฯ ตีนตก ด้วยจำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อจัดตั้งให้เป็นศูนย์พัฒนาสาธิต และส่งเสริมการเพาะเห็ดหอม และการปลูกกาแฟเป็นอาชีพเสริมให้ราษฎรในพื้นที่ นอกเหนือจากการปลูกเมี่ยง พื้นที่รับผิดชอบดำเนินงาน ๓๔.๖๕ ตร.ม. (๒๑,๖๕๖ ไร่) เป็นพื้นที่ของศูนย์ฯ ๕๒.๑ ไร่

 

วัตถุประสงค์

๑.  เพื่ออบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีและส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพที่เหมาะสม
     (อย่างน้อยให้มีรายได้พอกิน)

๒. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านสังคม การศึกษา สาธารณสุข ความเข้มแข็งของชุมชน

๓. เพื่อพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๔. เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ

การดำเนินงาน

งานทดสอบและสาธิตการปลูกพืชงานกาแฟ  พื้นที่ดำเนินการทั้งหมด ๔ ไร่ และได้ดำเนินการเพาะกล้าเตรียมรองรับให้เกษตรกรนำไปปลูกซ่อมแซมต้นเก่า และปลูกแปลงใหม่ เป็นการทำกาแฟอินทรีย์

งานไม้กระถาง  เพาะไม้กระถางไว้จำหน่ายภายในศูนย์ฯ เช่น บิโกเนีย กล้วยไม้ ลิปสติก หน้าวัวกระถาง มังกรคาบแก้ว ปีกผีเสื้อ และไม้กระถางอื่น ๆ

วานิลลา  ปัจจุบันทางศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ได้ดำเนินการปรับปรุงโรงเรือนเดิมที่มีอยู่
ให้มีขนาดกว้างขึ้น เพื่อรองรับต้นกล้าพันธุ์ที่นำมาปลูกเพื่อสาธิตและขยายพันธุ์ให้เกษตรกร ขนาดโรงเรือนที่ปรับใหม่ ขนาด ๑๒ x ๔๘ เมตร มีอยู่ทั้งหมด ๔ ระดับ ตามสภาพพื้นที่ สามารถปลูกวานิลลาได้ทั้งหมด ๓๕๐ ต้น มีอายุตั้งแต่ ๑-๕ ปี

เห็ดหอม ทางศูนย์ฯ ได้ปรับเปลี่ยนจากการเพาะท่อนไม้มาเพาะเป็นถุง เนื่องจากปัญหาการหมักหมม
ของเชื้อราเขียว - ราดำ ที่เข้าไปทำลายท่อนเห็ด โดยได้รับงบประมาณจากงานเห็ดส่วนกลางของมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อก่อสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด และนำก้อนเชื้อเห็ดหอมมาไว้ในโรงเรือนแล้ว

ไม้ผล  ภายในศูนย์ฯ ได้มีการสาธิตไม้ผลหลากหลายชนิด เช่น บ๊วย ลองกอง แก้วมังกร และเสาวรส

 

 

ผลการดำเนินงาน

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ได้ดำเนินการซื้อผลผลิตกาแฟทั้งผลสดและกาแฟกะลาทั้งหมด ๓๙,๐๐๐ กิโลกรัม เงินคืนเกษตรกรทั้งหมด ๓,๓๑๕,๐๐๐ บาท ส่งเสริมปลูกพืชผัก ๙ ชนิด เกษตรกรเข้าร่วม ๒๐ ราย ราย ผลผลิตจำนวน ๕๕,๔๙๙ กิโลกรัม เงินคืนเกษตรกรทั้งหมด ๗๑๑,๐๒๕ บาท ส่งเสริมการปลูกพลับ ผลผลิตจำนวน ๒,๙๙๗ กิโลกรัม เงินคืนเกษตรกร ๕๙,๗๕๑ บาท

นอกจากงานภาคเกษตรแล้วทางศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ยังได้ส่งเสริมการรวมกลุ่มและสนับสนุนผลิตภัณฑ์ หมอนใบชาแก่ทางกลุ่มแม่บ้าน และได้นำสินค้าหัตถกรรมส่งให้แก่งานหัตถกรรมโครงการหลวงเพื่อจำหน่ายในงานต่าง ๆ ในปี ๒๕๕๒ นี้ ได้ส่งผลิตภัณฑ์หมอนใบชาทั้งหมด ๘๗๙ ชิ้น รวมเงินคืนเกษตรกรทั้งหมด ๓๗,๕๑๐ บาท ด้านการท่องเที่ยว หมู่บ้านแม่กำปอง มีนักท่องเที่ยวเข้าพักและเยี่ยมชมรวมเป็น ชาวไทย จำนวน ๓,๔๙๙ คน ชาวต่างชาติ ๑๓,๒๖๙ คน รวมทั้งหมด ๑๖,๗๖๘ คน คิดเป็นรายได้ ๒,๓๕๘,๕๖๐ บาท นักท่องเที่ยวที่เข้าพักภายในศูนย์ ๒๘๖ คณะ ๒,๔๐๑ คน

 

แหล่งที่มา https://sites.google.com/site/khorngkarhlwng2016/suny-phathna-khorngkar-hlwng-tin-tk